BIM+GIS ในโครงการการจัดสรรทรัพยากรน้ำ

03 September,2021 122

โครงการการจัดสรรพทรัพยากรน้ำปากแม่น้ำเพิร์ลประกอบด้วยท่อลำเลียงน้ำสายหลัก ท่อลำเลียงน้ำสายรอง ท่อลำเลียงน้ำย่อย อ่างเก็บน้ำและสถานีสูบน้ำ 3 แห่ง ความยาวของท่อลำเลียงน้ำทั้งหมดคือ 113.1 กิโลเมตรซึ่งเป็นโครงการลำเลียงน้ำที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน

โครงการได้ใช้โปรแกรม MicroStation ของ Bentley เป็นแพลตฟอร์มในการออกแบบ 3 มิติ ใช้โปรแกรม ProjectWise ของ Bentley เป็นแพลตฟอร์มร่วมมือและ SuperMap เป็นแพลตฟอร์ม GIS ข้อมูลทางภูมิศาสตร์อย่างข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูล point cloud ได้มาจากกรมการสำรวจและแผนที่และนำเข้าไปยังแพลตฟอร์ม SuperMap เพื่อทำงานอื่น ๆ ต่อไป

ในการก่อสร้างแพลฟอร์มดิจิทัล BIM+GIS ของโครงการนี้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) Internet of Things การจัดการวงจรวิศวกรรม Building Information Model (BIM) Virtual Reality Interactive Simulation และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ ถูกนำมาใช้ในโครงการนี้ โครงการรวมระบบสารสนเทศ ทรัพยากรข้อมูลเข้าด้วยกัน รวบรวมข้อมูลออนไลน์ ส่ง จัดเก็บและจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง การจัดการการดำเนินการและการจัดการภาพรวมของโครงการ วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเพื่อนำไปใช้งานได้อย่างสูงสุด

โครงการสร้างแพลตฟอร์มพื้นฐานดิจิทัลสำหรับวิศวกรรมซึ่งประกอบด้วยการสร้างข้อมูลภูมิศาสตร์และข้อมูลโมเดล 3 มิติ การรวม 3D GIS และ BIM ของสภาพแวดล้อมการมองเห็นแบบผสมผสาน 2D GIS การเข้าถึงข้อมูลและแสดงในศูนย์กลางข้อมูล การพัฒนาโมดูลฟังก์ชั่นการแสดงผล 3 มิติสำหรับระบบธุรกิจที่หลากหลาย

แพลตฟอร์มดิจิทัล BIM+GIS ของโครงการการจัดสรรทรัพยากรน้ำปากแม่น้ำเพิร์ลที่สร้างและเชื่อมต่อสถานีสูบน้ำทั้ง 3 แห่งตลอดเส้นทางลำเลียงน้ำใต้ดินความยาวกว่า 90 กิโลเมตร บ่อพักน้ำและสระน้ำของโมเดล BIM กว่า 30 แหล่งและโมเดล GIS 4 ชั้นข้อมูล (แผนที่ออนไลน์ ภาพถ่ายดาวเทียมคมชัด โมเดลโฟโตแกรมเมตรีและภูมิประเทศ TIN)

6 ปัจจัยหลักที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาโครงการนี้

โครงการนี้ได้สร้างระบบสารสนเทศที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจ 6 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่ การจัดการการก่อสร้างโครงการ การจัดการการดำเนินการของสถานีสูบน้ำและการจัดการโดยภายรวมตลอดท่อลำเลียงของโครงการ (การจัดการข้อมูลความเสี่ยง การได้มาซึ่งที่ดินและการจัดการข้อมูลการตั้งถิ่นฐานใหม่ และการจัดการข้อมูลความปลอดภัยสาธารณะ)  สามารถสร้างแพลตฟอร์มนำเสนอ 3 มิติและการบูรณาการข้อมูลจาก GIS และ BIM ใช้เทคโนโลยี Virtual Reality เพื่อผลิตสภาพแวดล้อมในการจัดการและการตัดสินใจจริงของโครงการทั้งหมด รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อใช้เป็นผลการตัดสินใจและวิเคราะห์ และเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมและกระบวนการแมนนวลซึ่งทำให้การจัดการ การดำเนินการและการทำนุบำรุงของทั้งโครงการเป็นจริง นอกจากนี้ยังจัดหาเครื่องมือและบริการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับประยุกต์ใช้ของการจัดการการพัฒนาโครงการ

แพลตฟอร์มแก้ไข 3 ปัญหาหลัก

ปัญหาแรกคือการนำเข้าข้อมูลระหว่าง BIM และ GIS: แพลตฟอร์มออกแบบ BIM ที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ Autodesk Bentley Catia ในณะที่แพลตฟอร์ม GIS ได้แก่ SkyLine SuperMap และอื่น ๆ แพลตฟอร์ม BIM+GIS ต้องมีความสามารถในการนำเข้าโมเดลรูปแบบต่าง ๆ และง่ายต่อการใช้งาน

ปัญหาที่ 2 คือการรวมข้อมูลของ BIM และ GIS: โมเดล BIM และ GIS ควรที่จะรวมกันในแพลตฟอร์มและข้อมูล GIS ต้องได้รับการประมวลผล เช่น การขุดค้นบนภูมิประเทศ TIN และภูมิประเทศจริง การออกแบบทางด่วนและสะพาน ทั้งหมดนี้ต้องการโมเดล BIM ร่วมกับ GIS

ปัญหาที่ 3 คือความจุข้อมูลของแพลตฟอร์ม BIM+GIS: ในขั้นตอนการวางแผน โครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์ม BIM+GIS ระดับเมืองต้องการความจุของข้อมูลที่ค่อนข้างใหญ่ และขั้นตอนการก่อสร้าง การดำเนินการและการทำนุบำรุงก็จะมีข้อมูลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งต้องการความจุของข้อมูลที่มากยิ่งขึ้น

โซลูชั่นที่เกี่ยวข้อง